วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เที่ยวอัมพวา แบบไม่มีรถส่วนตัวD.1

อุทยาน ร.2 และ พิพิธภัณฑ์ขนมไทย  / วัดท้องคุ้ง  / วัดเกษมสรณาราม (วัดบางจาก)  / วัดบางกุ้ง  / วัดบางแคน้อย 
ตลาดน้ำอัมพวา 

ตลาดน้ำอัมพวา
ตลาดน้ำอัมพวายามค่ำคืน

 อัมพวา เป็นสถานที่ที่เราเคยนึกถึงแต่ตลาดน้ำที่เปิดไฟสว่างไสวในยามค่ำ ผู้คนมากมายต่างพากันมาจับจ่ายซื้อสินค้าและหาของกินอร่อยๆ แต่จริงๆนอกจากตลาดน้ำแล้ว ยังมีสถานที่อื่นๆที่น่าใสใจ และกิจกรรมหลากหลายให้ได้เลือกทำกัน  

ข้อมูลและการเดินทางดูได้จากที่นี่ >> เที่ยวอัมพวา ไม่มีรถส่วนตัวไปยังไง


ส่วนแผนท่องเที่ยวของ เที่ยวอัมพวา แบบไม่มีรถส่วนตัว จะเขียนไว้ด้านบนสุด สามารถคลิกเพื่อไปยังจุดที่สนใจได้


เราเลือกมาเที่ยวอัมพวาในวันเสาร์  
เมื่อถึงตลาดน้ำอัมพวาแล้ว จึงเดินไปเที่ยวตามจุดต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงก่อน >> แล้วย้อนกลับมาที่ตลาดน้ำเพื่อขึ้นเรือไหว้พระในช่วงเย็น >> ค่ำๆกลับมาช็อปปิ้งที่ตลาดน้ำ >> แล้วนอนพัก1คืน 
ตอนเช้าตื่นมาใส่บาตร >> เดินชมบรรยากาศริมน้ำ >> แวะช็อปตลาดสด >> กลับมาทานมื้อเช้า >> เช็คเอาท์ในตอนสาย 
ขึ้นรถสองแถวกลับไปที่แม่กลอง >> แวะชมตลาดร่มหุบ >> แล้วเดินทางกลับบ้าน รวม2วัน1คืน 
จะเป็นอย่างไรบ้างเดี๋ยวไปดูกัน  



อุทยาน ร.2 และ พิพิธภัณฑ์ขนมไทย
อุทยาน ร.2 หรือ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปะวัฒนธรรม อันงดงามไว้เป็นมรดกของชาติ จนได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) สถานที่ตั้งของอุทยาน ร.2 นั้น พระราชสมุทรเมธีเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย......................................................... ส่วนพิพิธภัณฑ์ขนมไทยตั้งอยู่ในพื้นที่ของอุทยาน ถูกสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ภายในเต็มไปด้วยขนมไทยต่างๆ ที่จำลองขึ้นมา ขนมที่จัดแสดงนั้นมีตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
2 ที่นี้เป็นจุดที่เดินได้จากตลาดน้ำอัมพวา มีชุดไทยให้ใส่ถ่ายรูปด้วย

อุทยาน ร.2 - อัมพวา
อุทยาน ร.2 และพิพิธภัณฑ์ขนมไทย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

หลังจากที่ใส่ชุดไทย เดินชิมเอ้ย..เดินชมขนมไทยกันจนพอใจแล้ว 
จึงเดินกลับมาที่ตลาดน้ำอัมพวา ล่องเรือไหว้พระ 5วัด เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ในราคาคนละ 50บาทเท่านั้น 

วัดท้องคุ้ง
วัดท้องคุ้ง มีอายุกว่า 200ปี ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างขึ้น แต่ยังคงมีการปฏิสังขรณ์เรื่อยมา แต่ก่อนวัดนี้มีชื่อว่า"วัดราชบูรณะ"ซึ่งตัวอารามอยู่ติดกับบริเวณท้องคุ้งของแม่น้ำ ผู้คนสัญจรไปมาจะเห็นได้แต่ไกล จึงเรียกใหม่ว่า"วัดท้องคุ้ง" องค์พระประธานภายในอุโบสถเชื่อกันว่าภายในอาจเป็นพระพุทธรูปสำริด เนื่องจากในช่วงหนึ่งมีการรบติดพันข้าศึกพม่าเข้ามา กลัวว่าพวกทหารพม่าจะเข้ามาพบและนำเอาพระพุทธรูปล้ำค่ากลับประเทศพม่า จึงได้มีการอำพรางเอาไว้
ล่องเรือมาซักพัก ก็มาจอดที่วัดนี้เป็นที่แรก

ล่องเรือไหว้พระอัมพวา-วัดท้องคุ้ง
วัดท้องคุ้ง-อัมพวา


วัดเกษมสรณาราม (วัดบางจาก)
วัดเกษมสรณาราม ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ.2350 เดิมมีชื่อว่า "วัดใหม่ตาเพชร" ซึ่งตั้งชื่อตามผู้บริจาคที่ดินให้แก่วัดที่ืชื่อว่า "นายเพชร" ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดเกษมสรณาราม" ในปีพ.ศ.2476.................................................................. วัดเกษมสรณาราม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด มีอุโบสถเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยปลายอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานที่สำคัญของพระประธานประจำโบสถ์ พร้อมพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่นผสมยางไม้ เป็นภาพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระเจ้าสิบชาติ

ด้วยความมึนงง จึงมาถึงวัดที่สามโดยที่ไม่มีรูปของวัดที่สองเลย

ล่องเรือไหว้พระอัมพวา-วัดเกษมสรณาราม
ภายในอุโบสถ วัดเกษมสรณาราม

ล่องเรือไหว้พระอัมพวา-วัดเกษมสรณาราม
ภายในอุโบสถ วัดเกษมสรณาราม



วัดบางกุ้ง
วัดบางกุ้ง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีการตั้งค่ายที่วัดนี้ 2ครั้งในสมัยสู้รบกับพม่า คือ "ค่ายบางกุ้ง"โดยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เพื่อป้องกันกรุงศรีอยุธยา และ "ค่ายจีนบางกุ้ง" โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อป้องกันกรุงธนบุรี................................................................................................ วัดบางกุ้ง มีพระอุโบสถ ซึ่งเป็นโบสถ์เก่าแก่ ถูกปกคลุมทั้งอาคารด้วยรากของต้นโพธิ์ ต้นกร่าง ต้นไกร จนได้รับยกให้เป็นอันซีนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม

วัดบางกุ้ง มีโบสถ์ที่มีต้นโพธิ์ปกคลุมทำให้วัดนี้เป็น"อันซีน"ของจังหวัดสมุทรสงคราม 

ระหว่างที่ล่องเรือเพื่อไหว้พระในวัดถัดไป เรือเริ่มนิ่ง จึงได้เก็บภาพริมน้ำมาบ้าง


ล่องเรือไหว้พระอัมพวา-บรรยากาศริมน้ำ
ล่องเรือไหว้พระอัมพวา-บรรยากาศริมน้ำ

ล่องเรือไหว้พระอัมพวา-บรรยากาศริมน้ำ
ล่องเรือไหว้พระอัมพวา-บรรยากาศริมน้ำ


วัดบางแคน้อย
วัดบางแคน้อย ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2411 โดยคุณหญิงจุ้ย วงศาโรจน์ ซึ่งเดิมทีอุโบสถวัดบางแคน้อยสร้างไว้บนแพไม้ไผ่ผูกไว้กับต้นโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ปัจจุบันได้รับการบูรณะเป็นอย่างดี เป็นอุโบสถไม้สักทั้งหลังโดยผนังภายในพระอุโบสถแกะสลักเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ การประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และเรื่องพระเจ้าสิบชาติ ลวดลายสวยงามชัดเจนโดยฝีมือช่างแกะสลักจากจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการแกะสลักไม้ พื้นอุโบสถเป็นไม้ตะเคียนทอง หนา 2 นิ้ว ความกว้าง 40-44 นิ้ว และใช้ไม้เพียงแค่ 7 แผ่นเท่านั้นก็เต็มอุโบสถ นับเป็นอุโบสถที่มีความงดงามในศิลปะการแกะสลักไม้เป็นอย่างมาก

วัดสุดท้ายของการล่องเรือไหว้พระที่อัมพวา เป็นวัดที่มีภาพสลักภายในโบสถ์สวยมาก 



หลังจากล่องเรือไหว้พระครบ 5วัดแล้ว เรือได้พามาส่งที่ท่าน้ำ 
ให้ได้เดินเล่นซื้อของที่ตลาดน้ำอัมพวาตั้งแต่ช่วงเย็นถึงค่ำ



ตลาดน้ำอัมพวา
ตลาดน้ำอัมพวา ตั้งอยู่ในจ.สมุทรสงคราม เป็นจุดท่องเที่ยวที่มีมีเสน่ห์อีกแห่งนึง ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอย่างไม่ขาดสาย การเที่ยวตลาดน้ำอัมพวานั้นสามารถทำได้ทั้งเช้าและเย็นซึ่งจะให้บรรยากาศที่แตกต่างกัน โดยตลาดจะคึกคักมากเป็นพิเศษในทุกคืนวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์

สำหรับสถานที่ที่ใครๆก็รู้จัก ได้เก็บภาพมุมมหาชนมาก็เพียงพอแล้ว
ตลาดน้ำอัมพวา-สมุทรสงคราม
ตลาดน้ำอัมพวายามค่ำคืน

ตลาดน้ำอัมพวา-สมุทรสงครามตลาดน้ำอัมพวายามค่ำคืน


จบหนึ่งวันแล้วใน เที่ยวอัมพวา แบบไม่มีรถส่วนตัวD.1

ส่วนวันที่สองจะเป็นอย่างไร ตามไปดูกันนะ >>> เที่ยวอัมพวา แบบไม่มีรถส่วนตัวD.2

 แนะนำสถานที่เที่ยวใกล้กรุงอื่นๆที่น่าสนใจ
เที่ยวสามร้อยยอด...ข้อมูลสำหรับการไปครั้งแรก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

เที่ยวเนปาล-เทรคกิ้งพูนฮิลล์ เดินช้าๆไปกับไกด์ท้องถิ่น.D10

จากน่านฟ้ากรุงกาฐมาณฑุเดินทางสู่เมืองไทย วันที่สิบถือเป็นวันสุดท้ายในประเทศเนปาล วันนี้เราจะได้กลับบ้าน คิดถึงบ้านแล้วสิ.....  โ...

 
back to top